ที่เที่ยวทั่วไป

ทำความรู้จักกับ พีระมิดแห่งกีซา สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ต้องแวะมาเยือน

พีระมิดแห่งกีซา เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญ ทั้งยังถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกโบราณ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่ที่นี่จะกลายเป็นจุดหมายปลายทางในฝันสำหรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก หลายคนมาที่อียิปต์ก็เพื่อสัมผัสกับความยิ่งใหญ่สถาปัตยกรรมโบราณที่สร้างขึ้นเพื่อคงอยู่ชั่วนิรันดร์ ดังนั้นก่อนวางแผนการเดินทาง มาลองเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความลึกลับของพีระมิดแห่งกีซากัน ความเป็นมาของ พีระมิดแห่งกีซา พีระมิดแห่งกีซาเป็นสุสานที่สร้างขึ้นสำหรับฟาโรห์สามองค์ของอียิปต์ ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า เมื่อฟาโรห์สวรรคตแล้วพระองค์จะก้าวสู่ชีวิตหลังความตายในฐานะเทพเจ้า ฟาโรห์จึงต้องสั่งให้สร้างสุสาน เป็นพีระมิดขนาดมหึมาสำหรับตัวพระองค์เอง ซึ่งบรรจุสิ่งของทั้งหมดที่ต้องการในโลกหน้า  การก่อสร้างพีระมิดแห่งแรกและใหญ่ที่สุดคือมหาพีระมิดแห่งคูฟู เริ่มการก่อสร้างขึ้น 2550 ปีก่อนคริสตกาล  30 ปีต่อมา โอรสของฟาโรห์คูฟูได้สั่งการก่อสร้างหลุมฝังศพของพระองค์เองคือพีระมิดคาเฟร สฟิงซ์ก็ถูกสร้างขึ้นที่นั่น จากนั้นพีระมิดกีซาซึ่งเป็นแหล่งสุดท้าย (พีระมิดเมนคูเร) ก็สร้างขึ้นเมื่อ 2490 ปีก่อนคริสตกาล   พีระมิดสร้างขึ้นอย่างไร งานวิศวกรรมของพีระมิดแห่งกิซานั้นน่าประทับใจมาก จนนักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไม่แน่ใจว่าพวกเขาสร้างขึ้นอย่างไร อย่างไรก็ตามในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา นักโบราณคดีได้ค้นพบสิ่งต่างๆ มากมายที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจการสร้างพีระมิดมากขึ้น  โดยนักวิจัยสันนิษฐานต้องใช้แรงงานกว่า 10,000-20,000 คน และเวลามากกว่า 20 ปีในการสร้างพีระมิด ตามหนังสือประวัติศาสตร์เก่าๆ อ้างว่าพีระมิดแห่งกีซาสร้างขึ้นโดยแรงงานทาส แต่จากการค้นพบหลักฐานในภายหลังสรุปได้ว่าคนงานส่วนใหญ่เป็นชาวนาในอียิปต์ ซึ่งทำงานในช่วงเวลาที่แม่น้ำไนล์ท่วมพื้นที่ใกล้เคียง คนงานเหล่านี้อาศัยอยู่ในเมืองชั่วคราวที่สร้างขึ้นใกล้กับพีระมิดเมนคูเร ชาวอียิปต์ใช้เครื่องมือและวัสดุต่างๆ ในการสร้างพีระมิด หินที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งที่คูฟูและเมนคูเรมาจากเหมืองใกล้เคียง การเคลื่อนย้ายก้อนหินเหล่านี้ใช้แรงงานคน โดยเลื่อนไปบนทรายเปียก และลากวัสดุขึ้นโดยใช้ทางลาดหลายชุด  วิธีการออกแบบทางลาดเหล่านี้ยังไม่ทราบแน่ชัด นี่เป็นเพียงหนึ่งในความลึกลับมากมายในการก่อสร้างพีระมิดแห่งกีซา มหาพีระมิดก่อสร้างเรียงกันเกือบสมบูรณ์ตามจุดสำคัญ (เหนือ/ใต้/ตะวันออก/ตะวันตก) […]

Read More
Back To Top